Programmer เป็นอาชีพที่ดี จริงหรือ??

ผมได้ไปอ่านข้อความตามเว็บบอร์ด เว็บบล็อกต่างๆ เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับอาชีพโปรแกรมเมอร์ ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี ก็เลยอยากจะขอแนะนำกันซะหน่อย


เริ่มที่ข้อดีกันก่อน

  • อย่างที่รู้ๆกันว่า Programmer เป็นอาชีพที่รายได้ดีทีเดียว เมื่อเทียบกับอาชีพมนุษย์เงินเดือนอื่น
  • ความรู้ที่ใช้ในการทำงานของโปรแกรมเมอร์ เป็นวิชาติดตัว ทำให้สามารถรับจ๊อบเสริมได้ (ถ้างานหลักไม่หนักจนเกินไป)
  • นอกจากจะรับจ๊อบนอกได้แล้ว ยังสามารถขยายความรู้ให้กว้างขวางได้ด้วยตนเอง หรือจะนั่งทำแอพฯขำๆของตัวเองก็ได้
  • ความรู้ด้านอื่นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น ลงโปรแกรม ลงวินโดวส์ วิธีเลือกซื้อเลือกใช้เครื่องคอมฯ การแก้ปัญหาเบื้องต้น เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นมักจะเข้าใจว่าเราทำได้ และเราก็ "ต้องทำได้"



มาถึงข้อเสียกันบ้าง

  • Programmer ชื่อฟังดูสวยหรู แต่คุณจงรู้ไว้เลยว่า มันเป็นอาชีพที่อยู่ล่างสุดของสายเทคโนโลยี
  • ถ้าชอบเล่นเกมส์ แล้วบอกกับพ่อแม่ว่าอยากเรียนสายนี้ เตรียมใจไว้ได้เลย เพราะต้องเจออะไรที่หนักเหมือนกัน และถ้าเกาะเพื่อนจนเรียนรอดมาได้ มันก็ไม่น่าภูมิใจนักหรอก
  • เมื่อคุณเริ่มเรียน และที่บ้านไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านนี้ เขาไม่รู้หรอก สิ่งที่คุณทำแต่ละอย่าง คืออะไร แม้แต่เวลาที่คุณทำงานแล้ว เผลอๆ ความเข้าใจ ไม่ต่างจากคำว่า 'ช่างคอม' มากนัก
  • ถ้าคุณคิดว่าอยากเรียนสูงๆ ป.โท ป.เอก จบมาจะได้เป็นเจ้าคนนายคน บอกไว้เลยครับ ผมเรียนแค่ป.ตรี ที่เรียนแบบกว้างๆ ให้รู้จักทุกอย่าง มาทำงานแทบจะไม่ได้ใช้เลย นับประสาอะไรกับป.โท ป.เอก ที่เจาะลึกลงไปเป็นเรื่องๆ ถ้าอยากเรียนจริงๆ แนะนำให้ไปสายนักวิจัย อาจารย์ จะเติบโตได้ดีกว่ามาก
  • โปรแกรมเมอร์ เป็นอาชีพสายเทคโนโลยีเชิงเทคนิค แต่ขั้นกว่าของโปรแกรมเมอร์ ไม่ได้มีสายเทคนิคเพียงอย่างเดียว และบางทีมันอาจทำให้คุณท้อใจไปเลยก็ได้
  • ปลายสายงานทางด้านเทคโนโลยี ก็คือ โปรแกรมเมอร์ ทำให้โปรแกรมเมอร์เกือบทุกที่เป็นคอขวด อย่างที่บอก เพื่อนร่วมงานคุณจะช้า ลูกค้าคุณจะรีบ ท้ายที่สุด มันคือความรับผิดชอบของคุณเพียงคนเดียว ผู้ร่วมงานคุณน่ะหรอ ถ้าไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ เขากลับบ้านนอนแล้วล่ะ


โยงใยเข้าสู่ อาเซียน (AEC) ที่กำลังจะมาในปี 2558 กันหน่อย

เรื่องภาษาอังกฤษ จำเป็นไหม ?
ต้องบอกว่า อย่างน้อย ต้องงูๆปลาๆได้ เพราะว่าภาษาโปรแกรมที่เขียนๆกัน มันก็ต้องอังกฤษอยู่แล้ว คงไม่มีใครสร้าง syntax มาเป็นภาษาไทยนะ (คงยากน่าดู) และบางครั้งภาษาอังกฤษก็จำเป็นเวลาที่เราต้องหาข้อมูลเพิ่ม เช่น อ่าน APIdocs, E-Book, เว็บบอร์ดต่างๆ และเรามักจะพบคำตอบที่ดีในรูปแบบของภาษาอังกฤษ

AEC มีโอกาสทำให้โปรแกรมเมอร์บ้านเราตกงานไหม ?
ในความคิดผม ผมว่าไม่ เพราะเดี๋ยวนี้ไม่มีที่ไหนไม่ใช้โปรแกรม ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพราะสิ่งเหล่านี้ลดค่าจ้างแรงงานได้พอสมควร เมื่อมีคนเข้ามามากขึ้น ความจำเป็นเหล่านี้ก็สูงขึ้น เทคโนโลยีที่ต้องมาตอบสนองความก้าวหน้าก็ย่อมเกิด แน่นอนว่าระบบต่างๆก็จะผุดกันเป็นดอกเห็ด ^^

ค่าจ้างโปรแกรมเมอร์จะเป็นอย่างไรหลัง AEC เข้ามาแล้ว ?
ผมว่าการที่จะลดค่าจ้างพนักงานเดิมคงยาก แต่พนักงานใหม่อันนี้ไม่แน่ใจ ผมคิดว่าบางทีเราต้องมองให้ถูกจุด ว่า AEC คืออะไร แล้วค่าจ้างแรงงาน มันจะถูกลงอย่างค่าจ้างพนักงานต่างด้าวตามร้านหมูกะทะหรือเปล่า



ท้ายที่สุด
อาชีพโปรแกรมเมอร์ (รวมถึงที่เกี่ยวข้อง) เป็นอาชีพที่บอกได้เลยว่าดี แต่จะดีกับคนที่หมั่นเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ สนใจที่จะหาคำตอบแก้ไขปัญหาที่เจอ ถ้าคุณเป็นคนเครียดง่ายไม่สนุกกับปัญหาและความยุ่งวุ่นวายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็คงจะลำบากซะหน่อย แต่จะมีเพียงเท่านี้ก็ไม่พอหรอก ขึ้นอยู่กับสถานที่และสภาวะแวดล้อม ซึ่งแต่ละที่ก็คงไม่เหมือนกัน คงต้องหาคำตอบกันเองแล้วล่ะว่าต้องทำยังไงถึงจะดี ^^


Facebook Comment

Recent Posts

Popular post of 7 days

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

Port Forwarding สำหรับคนใช้ AIS Fibre

Popular

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

เรื่องของ ++i กับ i++

Port Forwarding สำหรับคนใช้ AIS Fibre

วิธีการสมัคร Apple Developer Program และ Enterprise Program ฉบับลงมือเอง

ลืมรหัสปลดล็อค Android เข้าเครื่องไม่ได้ มีทางออกครับ

ทดสอบ Mobile App แบบ Automated ด้วย Appium ทำยังไงกันนะ

Deeplink, Universal Links คืออะไร ทำงานร่วมกับ Mobile App ได้ยังไง

Android Auto & Apple Carplay คืออะไร ใช้งานยังไง