มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

          หัวข้อนี้อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า ผมเขียนขึ้นมาทำไม หลายๆคนที่ได้เรียนวิชา Programming ต่างๆก็คงถูกสอนกันมาอยู่แล้วว่า การตั้งชื่อตัวแปรต้องให้สื่อความหมาย ไม่ใช่สักแต่ว่า a,b,c; หรือ x,y,z เพราะมันจะทำให้คนที่จะมาเขียนโปรแกรมต่อจากเราทำได้ยาก ถ้าเป็นโปรแกรมเล็กๆก็พอรับได้ แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ก็ควรลด-ละ-เลิกได้แล้วครับ

          แต่มันยังไม่หมดแค่นั้น นอกจากจะตั้งชื่อให้สื่อความหมายแล้ว ควรสังเกตลักษณะไวยากรณ์ (Syntax) ของแต่ละภาษาด้วยว่าเค้าเขียนกันอย่างไร หรือตัวอย่างตาม internet เค้าเขียนกันอย่างไร ซึ่งล้วนแต่มีที่มาที่ไปมาจากข้อตกลงร่วมกันในแต่ละภาษา หรือ เรียกว่า "Naming Convention" ซึ่งจะทำให้ชื่อแต่ละชื่อนั้น สามารถบ่งบอกความหมายได้เบื้องต้น เป็นผลดีต่อโปรแกรมเมอร์อย่างมากครับ

Hungarian Notation

          จะใช้ตัวย่อของชนิดตัวแปรขึ้นต้น โดยจะใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ซึ่งตัวย่อจะถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การตั้งชื่อตัวแปรแบบ Hungarian Notation จะทำให้ Programmer อ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น จากนั้นคำต่อๆไปตัวอักษรตัวแรกของคำจะเป็นตัวใหญ่
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรแบบ Hungarian Notation : strName , iValue
ภาษาที่นิยมใช้ : C, C++

Camel Case (Lower Camel Case)

          เป็นการตั้งชื่อโดยกำหนดให้คำแรกเป็นตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด แต่ไม่ได้ใช้อักษรย่อ การตั้งชื่อแบบ Camel Case จะเป็นคำต่อกันทั้งหมด ซึ่งตัวอักษรตัวแรกของคำที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นตัวใหญ่ (คำที่ 2 ขึ้นไปเหมือน Hungarian Notation)
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรแบบ Camel Case : productPrice , summaryResult
ภาษาที่นิยมใช้ : Java

Pascal Case (Upper Camel Case)

          การตั้งชื่อลักษณะนี้ ต่างจาก Camel Case ตรงที่จะใช้ตัวอักษรตัวแรกของทุกคำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (ตัวแรกด้วย)
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรแบบ Pascal Case : FirstName , LastName
ภาษาที่นิยมใช้ : C#, .NET

Snake Case

          แทนที่จะแบ่งคำด้วยตัวอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ (case sensitive) การตั้งชื่อแบบนี้จะใช้ _ (Underscore) แทน แต่การตั้งชื่อแบบนี้จะทำให้ชื่อตัวแปรยาวไปหน่อยครับ
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรแบบ Underscores : my_variable
ภาษาที่นิยมใช้ : SQL, PHP


Upper Case

          เป็นการตั้งชื่อโดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด ซึ่งมักจะใช้ตัวอักษรย่อ หากเขียนเป็น Upper Case แบบหลายๆคำแบบ Camel Case หรือ Pascal Case จะทำให้เกะกะตาเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรแบบ Upper Case : ID , PI
ภาษาที่นิยมใช้ :

แหล่งข้อมูล :
http://www.unzeen.com/article/1342/ว่าด้วยมาตรฐานในการตั้งชื่อตัวแปร
thaioop.wordpress.com/2006/12/07/ตอน-17-หลักการตั้งชื่อในภ/
http://en.wikipedia.org/wiki/CamelCase
http://en.wikipedia.org/wiki/Hungarian_notation
http://c2.com/cgi/wiki?CamelCase
http://www.tizag.com/phpT/variable.php

Facebook Comment

Recent Posts

Popular post of 7 days

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

Port Forwarding สำหรับคนใช้ AIS Fibre

Popular

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

เรื่องของ ++i กับ i++

Port Forwarding สำหรับคนใช้ AIS Fibre

วิธีการสมัคร Apple Developer Program และ Enterprise Program ฉบับลงมือเอง

ลืมรหัสปลดล็อค Android เข้าเครื่องไม่ได้ มีทางออกครับ

Deeplink, Universal Links คืออะไร ทำงานร่วมกับ Mobile App ได้ยังไง

ทดสอบ Mobile App แบบ Automated ด้วย Appium ทำยังไงกันนะ

Android Auto & Apple Carplay คืออะไร ใช้งานยังไง