Resistive - Capacitive & Touchscreen mobile
เรื่องนี้เป็นเรื่องของหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แบบต่างๆ ที่ผ่านหูผ่านตากันมานะครับ
ช่วงที่หน้าจอสัมผัสฮิตกันแรกๆนั้น เราคงจำได้ว่าจะเห็นส่วนมากก็ตามร้าน MK ที่พนักงานมักจะใช้กัน ซึ่งเป็น PDA สำหรับการสั่งอาหารให้ลูกค้า และจะมีผู้ใช้ที่ค่อยข้างมีฐานะใช้กันบ้าง แต่ไม่นิยมมาก สังเกตว่าอุปกรณ์ในช่วงนี้มักจะมี ปากกาเฉพาะ สำหรับจิ้มหน้าจอสัมผัสนี้ ทีนี้ เรามาลองดูกันว่า หน้าจอสัมผัสเหล่านี้ แตกต่างกับโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสปัจจุบันอย่างไร
จอลักษณะที่ใช้ ปากกา หรือ Stylus จะเป็นลักษณะการสัมผัสระหว่างแผ่นเลเยอร์(Layer) แน่นอนว่าต้องเป็นแผ่นโปร่งแสงเพื่อให้หน้าจอสามารถแสดงผลได้ โดยแผ่นด้านบนจะมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับแรงกด และแผ่นด้านล่างอยู่บนพื้นแข็ง มีเม็ดฉนวนคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์นี้เพื่อป้องกันการสัมผัสกันในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้กดลงมา เมื่อผู้ใช้สัมผัส แผ่นเลเยอร์ด้านบน (แผ่นอ่อน ยืดหยุ่น) ก็จะสัมผัสกับแผ่นเลเยอร์ด้านล่าง ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อนำไปคำนวณก็จะได้ตำแหน่งที่สัมผัส สังเกตว่าจอแบบนี้มักใช้ Stylus ในการสัมผัส เนื่องจากการกดจะดีกว่า และมีพื้นที่สัมผัสกันเล็กทำให้คำนวณตำแหน่งได้ดีกว่าใช้มือ จอสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า "Resistive Touchscreen"
การใช้ Stylus ค่อนข้างจะไม่สะดวกนักสำหรับการใช้งาน ปัจจุบันได้มีหน้าจอสัมผัสที่สามารถใช้นิ้วมือสัมผัสได้โดยตรง และระบุตำแหน่งได้แม่นยำ โดยหน้าจอสัมผัสที่ว่านี้ทำจากแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วยออกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง การทำงานจะมีการจ่ายแรงดันไฟฟ้าจาก 4 มุมของจอเกิดเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อนิ้วมือซึ่งนำไฟฟ้าสัมผัสบนจอ ก็จะมีการถ่ายเทกระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถคำนวณจุดที่มีการถ่ายเทกระแสและได้เป็นตำแหน่งที่ผู้ใช้สัมผัส แต่หน้าจอแบบนี้ก็จะไม่รองรับการสัมผัสด้วยอุปกรณ์ที่ไม่นำไฟฟ้าเช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ อะไรพวกนี้มาจิ้มก็จะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้หน้าจอแบบนี้พบเห็นได้ใน smart phone รุ่นต่างๆ หน้าจอสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า "Capacitive Touchscreen"
http://www.mrpalm.com/list3.php?cont_id=2206
ช่วงที่หน้าจอสัมผัสฮิตกันแรกๆนั้น เราคงจำได้ว่าจะเห็นส่วนมากก็ตามร้าน MK ที่พนักงานมักจะใช้กัน ซึ่งเป็น PDA สำหรับการสั่งอาหารให้ลูกค้า และจะมีผู้ใช้ที่ค่อยข้างมีฐานะใช้กันบ้าง แต่ไม่นิยมมาก สังเกตว่าอุปกรณ์ในช่วงนี้มักจะมี ปากกาเฉพาะ สำหรับจิ้มหน้าจอสัมผัสนี้ ทีนี้ เรามาลองดูกันว่า หน้าจอสัมผัสเหล่านี้ แตกต่างกับโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสปัจจุบันอย่างไร
จอลักษณะที่ใช้ ปากกา หรือ Stylus จะเป็นลักษณะการสัมผัสระหว่างแผ่นเลเยอร์(Layer) แน่นอนว่าต้องเป็นแผ่นโปร่งแสงเพื่อให้หน้าจอสามารถแสดงผลได้ โดยแผ่นด้านบนจะมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับแรงกด และแผ่นด้านล่างอยู่บนพื้นแข็ง มีเม็ดฉนวนคั่นระหว่าง 2 เลเยอร์นี้เพื่อป้องกันการสัมผัสกันในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้กดลงมา เมื่อผู้ใช้สัมผัส แผ่นเลเยอร์ด้านบน (แผ่นอ่อน ยืดหยุ่น) ก็จะสัมผัสกับแผ่นเลเยอร์ด้านล่าง ทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อนำไปคำนวณก็จะได้ตำแหน่งที่สัมผัส สังเกตว่าจอแบบนี้มักใช้ Stylus ในการสัมผัส เนื่องจากการกดจะดีกว่า และมีพื้นที่สัมผัสกันเล็กทำให้คำนวณตำแหน่งได้ดีกว่าใช้มือ จอสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า "Resistive Touchscreen"
การใช้ Stylus ค่อนข้างจะไม่สะดวกนักสำหรับการใช้งาน ปัจจุบันได้มีหน้าจอสัมผัสที่สามารถใช้นิ้วมือสัมผัสได้โดยตรง และระบุตำแหน่งได้แม่นยำ โดยหน้าจอสัมผัสที่ว่านี้ทำจากแผ่นแก้วเคลือบผิวด้วยออกไซด์ของโลหะแบบโปร่งแสง การทำงานจะมีการจ่ายแรงดันไฟฟ้าจาก 4 มุมของจอเกิดเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อนิ้วมือซึ่งนำไฟฟ้าสัมผัสบนจอ ก็จะมีการถ่ายเทกระแสไฟฟ้า ทำให้สามารถคำนวณจุดที่มีการถ่ายเทกระแสและได้เป็นตำแหน่งที่ผู้ใช้สัมผัส แต่หน้าจอแบบนี้ก็จะไม่รองรับการสัมผัสด้วยอุปกรณ์ที่ไม่นำไฟฟ้าเช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ อะไรพวกนี้มาจิ้มก็จะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้หน้าจอแบบนี้พบเห็นได้ใน smart phone รุ่นต่างๆ หน้าจอสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า "Capacitive Touchscreen"
สังเกตกันง่ายๆครับ มือถือที่หน้าจอ Capacitive จะสัมผัสได้ลื่นกว่า Resistive มาก ถ้าต้องจิ้มๆโดยใช้ปลายนิ้วจิกหรือใช้เล็บก็ตีความเบื้องต้นไปก่อนได้เลยครับว่า Resistive ชัวร์ หน้าจอสัมผัส Capacitive ต้องสามารถแตะด้วยมือได้ครับ เหมือนลูบอะไรซักอย่างก็จับตำแหน่งได้แล้ว ส่วนหน้าจอสัมผัสที่รองรับการสัมผัสหลายจุดนั้นก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของบริษัทผู้พัฒนาครับ ยิ่งเยอะจุดการทำงานของแผงวงจรก็ต้องยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก..
http://www.allaboutsymbian.com/features/item/Resistive_vs_Capacitive_the_invisible_tech_war_in_which_both_opponents_can_win.phphttp://www.mrpalm.com/list3.php?cont_id=2206